วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

แดนสวรรค์ของกบเอ้บ




การทำพาน

ความหมาย และประวัติความเป็นมาของบายศรี

ความหมายของบายศรีสู่ขวัญ
บายศรี เป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าของคนไทย ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่เกิดจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่างๆ ซึ่งจะต้อง มีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้นๆ ซึ่งเป็นศาสนพิธีของพราหมณ์ 
คำว่า บาย ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก 
บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส 
ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับ ภาษาบาลี ว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ 
คำว่า “ บายศรี ” แปลว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่ น่าสัมผัสกับความดีงาม (ความหมายของชาวอีสาน) 
บายศรี ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ข้าวอันเป็น สิริ ,ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย

ในโบราณมีการเรียกพิธีสู่ขวัญ ว่า บาศรี เหตุที่เรียกว่า บาศรี เนื่องมาจากเป็นพิธีสำหรับ บุคคลชั้นเจ้านายผู้ใหญ่ทำกัน จึงมีคำว่า บา อยู่ด้วย “บา” ในภาษาโบราณอีสานใช้เป็นคำนำหน้าเรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า ศรี หมายถึงผู้หญิงและสิ่งที่เป็นสิริมงคล บาศรี จึงหมายถึง การทำพิธีที่เป็นสิริมงคลแต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยมเรียกกันแล้ว มักนิยมเรียกว่า บายศรี เป็นส่วนมาก 


ประวัติความเป็นมาของพิธีบายศรีสู่ขวัญ
กล่าวกันว่าพิธีบายศรีสู่ขวัญมาพร้อมกับพราหมณ์ทมิฬชานอินเดียที่อพยพมาสู่สุวรรณภูมิ หนังสือเก่าที่พบซึ่งออกในสมัยพระเจ้าอู่ทองกล่าวไว้ว่า บายเป็นภาษาเขมรแปลว่าข้าว ข้าวอันเป็นสิริมงคล ข้าวขวัญ กล่าวคือข้าวที่หุงปรุงรสโอชาอย่างดีเหมาะสมที่จะเป็นเครื่องสังเวยให้เทวดาโปรด พิธีใดเป็นพิธีเทวดาโดยตรง หรือต้องการที่จะอัญเชิญเทวดามาเป็นประธาน ต้องหาของสังเวยที่ดีและมีสีสะดุดตา ชาวทมิฬจึงมีเคล็ดลับความเชื่อในข้าวที่ย้อมสีตามสีประจำองค์เทวดา รวมถึงใช้สีล่อเทวดาฝ่ายร้ายให้ไปรวมต่างหากไม่ให้มาทำอัปมงคลให้โทษแก่มณฑลพิธีและบุคคล ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยกับทมิฬได้มีความเป็นมาอย่างเดียวกัน เนื่องจากได้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมต่าง ๆแก่กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีบวงสรวงเทวดา มีขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วย ข้าวย้อมสี เช่นข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวแดง ก็นำมาใช้ในพิธีไทยอย่างชัดเจน นอกจากนี้ภาชนะบายศรีตองเป็นกระทงที่สำหรับบรรจุอาหาร ภายหลังเอาพานซ้อนกันขึ้นไปแล้วเอาของตั้งบนปากพาน เมื่อมีการถ่ายทอดมาที่ประเทศไทย ซึ่งมีศิลปศาสตร์ที่เจริญขึ้น กระทงใบตองก็ถูกประดิดประดอยให้สวยงามเป็นกระทงเจิม ซึ่งประดับประดาตกแต่งที่ปากกระทงให้มีความงดงามมีกระจัง มียอดแหลมตามศิลปะแบบไทย ๆ

พิธีบายศรีสู่ขวัญหรือหลายท้องถิ่นในภาคอีสานจะเรียกว่าสู่ขวัญหรือสูดขวัญ ตามความเชื่อของคนไทยเชื่อกันว่าคนที่เกิดมามีขวัญประจำกายมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษา ขวัญเป็นเหมือนพี่เลี้ยงที่คอยดูแลประคับประคองชีวิต คอยเลี้ยงดู และติดตามไปทุกหนทุกแห่ง เป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายจิตหรือวิญญาณแฝงอยู่ในตัวคนและสัตว์ ซึ่งขวัญตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าในร่างกายเรามี 2 สิ่งรวมกัน คือร่างกายและจิตใจหรือขวัญ

ขวัญ คือความรู้สึก ถ้าขวัญของผู้ใดอยู่กับตัว ผู้นั้นจะมีความสุขกายสบายใจเป็นปกติ แต่ถ้าขวัญของผู้ใดหลบลี้หนีหาย ผู้นั้นจะมีลักษณะอาการตรงกันข้าม

คนไทยจึงเชื่อว่าพิธีสู่ขวัญเป็นพิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมเพิ่มพลังใจให้เข้มแข็ง เมื่อมีขวัญที่มั่นคง พลังใจที่เข้มแข็งดีแล้ว ย่อมส่งผลให้การประกอบภารกิจหน้าที่นั้น ๆ บรรลุผลสำเร็จได้ตามความมุ่งหมาย ซึ่งให้กำลังใจกันเมื่อมีความทุกข์ใจ หรือเสริมให้มีความสุขยิ่ง ๆขึ้นไปเมื่อมีความสุขความพอใจอยู่แล้วก็สามารถทำได้ การทำพิธีสู่ขวัญอาจทำได้ทั้งพิธีทางพระพุทธศาสนาและพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา

มาลัย

พุดร้อยมาลัย, ดอกพุดร้อยมาลัย, ดอกพุดตูม

พุดร้อยมาลัย หรือ ดอกพุดร้อยมาลัย ดอกพุดไม่มีกลิ่น ดอกตูมไม่ยอมบาน จึงเหมาะสำหรับนำดอกตูมไปร้อยพวงมาลัย ปลูกเลี้ยงง่าย ออกดอกง่าย ออกดอกดกเป็นช่อ และออกดอกได้ตลอดทั้งปี
พุดร้อยมาลัย, ดอกพุดร้อยมาลัย, ดอกพุดตูม
พุดร้อยมาลัย, ดอกพุดร้อยมาลัย, ดอกพุดตูม
ผมเคยได้รับคำถามนี้มาหลายครั้ง ว่า…
ดอกพุดร้อยมาลัย” กับ ดอกพุดกังหัน(ดอกพุดจักร) คือสายพันธุ์เดียวกันใช่หรือไม่?
แสดงว่ายังมีเพื่อนๆ บางคนที่ยังคงสับสนระหว่างดอกพุดทั้งสองสายพันธุ์นี้ บ้างก็เข้าใจว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกัน และเรียกชื่อสลับกันไปมา หรือเหมารวมเรียกเป็นชื่อเดียวกันไปทั้งหมดว่า “พุดร้อยมาลัย”
สำหรับความคิดเห็นส่วนตัว ผมว่า พุดร้อยมาลัย กับ พุดกังหัน(พุดจักร) ไม่ใช่สายพันธุ์เดียวกัน คืออาจจะเป็นชนิดเดียวกัน แต่จะมีลักษณะปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป(variety) จึงทำให้รูปร่างลักษณะของ “ดอก” ไม่เหมือนกัน เท่านั้นเอง

ดอกพุดร้อยมาลัย ดอกตูมไม่ยอมบาน

ดอกพุดร้อยมาลัย เมื่อดอกตูมมีลักษณะเป็นตุ้มกลมปลายแหลม ดอกไม่มีกลิ่นหอม และ “ดอกไม่บาน” แม้ดอกจะร่วงโรยหล่นลงพื้นแล้ว ดอกก็ยังตูมอยู่แบบนั้น
หากเก็บดอกตูมของดอกพุดร้อยมาลัยที่ร่วงโรยหล่นลงพื้นแล้ว มาแกะคลี่ออกดู ก็จะพบว่า กลีบดอกมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับดอกพุดกังหัน(ดอกพุดจักร)มาก เพียงแต่ ดอกตูมของดอกพุดร้อยมาลัย ไม่ยอมบาน เท่านั้นเอง ซึ่งแตกต่างกับดอกพุดกังหัน(ดอกพุดจักร) ที่เมื่อดอกตูมเต็มที่แล้ว ดอกจะบานอยู่ได้ 1-2 วันจึงร่วงโรย
ความแตกต่างกันของดอกพุดร้อยมาลัยที่ดอกตูมไม่ยอมบานนี้ อาจจะเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นเองตามธรรมชาติ หรืออาจจะเกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์โดยฝีมือมนุษย์ก็เป็นไปได้เช่นกัน เพราะกลายเป็นจุดเด่นและข้อดีของดอกพุดร้อยมาลัย สำหรับการเก็บดอกตูมๆ นำไปร้อยเป็นพวงมาลัย จนมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พุดตูม” หรือ ดอกพุดตูม ครับ
พวงมาลัยดอกพุด (ภาพจาก weddingsquare.com)
พวงมาลัยดอกพุด (ภาพจาก weddingsquare.com)
และเพื่อความมั่นใจว่าผมไม่ได้เข้าใจผิดหรือคิดไปเองคนเดียว ผมจึงนำดอกพุดทั้งสองไปสอบถามข้อมูล กับคุณป้าแม่ค้าร้อยมาลัยดอกพุดท่านหนึ่ง ซึ่งก็ทำให้ผมได้รับคำยืนยันว่า…
“ดอกพุดร้อยมาลัย กับ ดอกพุดกังหัน(ดอกพุดจักร)เป็นคนละสายพันธุ์กัน ไม่เหมือนกัน
ดอกพุดร้อยมาลัย ดอกตูมไม่บาน จะได้รับความนิยมมากกว่าดอกตูมของดอกพุดกังหัน(พุดจักร)
เพราะดอกตูมของพุดกังหัน(พุดจักร) มักจะมีขนาดเล็กกว่า หรือมีขนาดดอกตูมไม่ค่อยเท่ากัน
หากเก็บดอกตูมไม่ทันเวลา ดอกก็จะบานซะก่อน ทำให้การเก็บดอกตูม และการคัดเลือกขนาด ของดอกตูม จึงยุ่งยากมากกว่าดอกตูมของพุดร้อยมาลัย”
การเก็บดอกพุดตูม มาร้อยพวงมาลัย (ภาพจาก: rakbankerd.com)
การเก็บดอกพุดตูม มาร้อยพวงมาลัย (ภาพจาก: rakbankerd.com)
ข้อดีของดอกพุดร้อยมาลัย คือดอกตูมของดอกพุดร้อยมาลัย เมื่อดอกตูมเต็มที่มักจะมีขนาดเท่าๆ กัน จึงเลือกเก็บดอกตูมได้ง่าย ดอกตูมจะไม่บาน มีก้านดอกที่ยาวใกล้เคียงกัน จึงทำให้การจัดเรียงดอกพุดในการร้อยมาลัย สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น และดูเรียงเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม แต่มีข้อเสียคือ ดอกพุดร้อยมาลัยจะมีน้ำยางสีขาว(เพราะเป็นดอกพุดที่อยู่ในวงศ์ Apocynaceae) จึงต้องนำดอกพุดมาคลุกกับแป้งก่อน หรือต้องคอยใช้แป้งโรยบ่อยๆ เวลาที่กำลังทำการร้อยพวงมาลัย

การปลูกพุดร้อยมาลัย

พุดร้อยมาลัย เป็นไม้พุ่มที่ปลูกเลี้ยงง่าย ออกดอกง่าย ออกดอกดกและออกดอกได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องดูแลมาก ปรับตัวได้เก่ง โตเร็ว ชอบดินร่วนโปร่งระบายน้ำได้ดี ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบดินเหนียวน้ำแฉะขัง(ระวังรากเน่า) ชอบปุ๋ย ชอบแดด ปลูกได้ทั้งในบริเวณที่ได้รับแสงแดดรำไร แสงแดดครึ่งวัน หรือแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยวิธีการตอนกิ่งหรือการปักชำกิ่ง จึงหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายต้นไม้ทั่วไป และราคาไม่แพงครับ
ต่อจากนี้ไป หากใครพูดถึง “พุดร้อยมาลัย” ผมจะได้ไม่ต้องคอยถามกลับไปทุกครั้งว่า “ดอกบานไหม?”
ก็ในเมื่อมีจุดแตกต่างกันอย่างชัดเจนขนาดนี้ แล้วจะให้เรียกว่าเป็น ดอกพุดร้อยมาลัย ดอกตูมหรือดอกบาน ให้สับสนกันต่อไปอีกทำไม?
จริงไหมครับ! :)
ขอบคุณ

ปลากระพงทอดน้ำปลา

วันอาทิตย์

ปลากะพงทอดน้ำปลา

Credit By : Horapa
ปลากะพงทอดน้ำปลา
~ ปลากะพงทอดน้ำปลา ~



ส่วนผสม
 ปลากะพง 1 ตัว
 น้ำปลาอย่างดี 200 มล.
 มะม่วงมัน 1 ลูก
 น้ำตาลปี๊บ 50 กรัม
 ผักชี



วิธีทำ
1. นำปลากะพงล้างให้สะอาด แล้วนำไปชุบในน้ำปลา
2. จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันร้อนปานกลาง จนได้ปลาสีเหลืองกรอบ
3. ทำน้ำจิ้มด้วยการผสมน้ำปลากับน้ำตาลปี๊บ จนได้รสชาติที่ชอบ
4. ใส่มะม่วงซอยลงไปพร้อมพริกชี้ฟ้าแดง รสชาติจะออกหวานหอมอมเปรี้ยวกลมกล่อม
5. ตกแต่งด้วยผักชี จัดเสิร์ฟ


อาหาร

ขนมไทย

 
ขนมไทย : ข้าวเหนียวดำ
ขนมหวานไทย :  : สังขยาใบเตย
 
 
 

อาหารไทย

ยินดีต้อนร้บเข้าสู่เว็บ lnwrecipes.com เว็บไซต์ที่รวบรวมสูตรอาหารไทย หลากหลายทั้ง เมนูสูตรอาหารผัด ทอด ต้ม นึ่ง เครื่องดิ่ม ของหวาน และสูตรอาหารไทยอื่นๆ อีกมากมาย
ต้มข่าไก่
ต้มข่าไก่ เป็นเมนูต้มยำอีกแบบหนึ่ง แต่ต้มข่าไก่ต่างกับต้มยำเพียงแค่ใส่กะทิเพิ่มลงไปเท่านั้...
อ่านต่อคลิกที่นี่
แกงฮังเล
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมขอเสนอสูตรการทำแกงฮังเล ซึ่งเป็นอาหารที่นิยมในหมู่ชาวจังหวัดแถวภ...
อ่านต่อคลิกที่นี่
สูตรแกงป่าเนื้อ
สำหรับคนที่ชื่นชอบรับประทานเนื้อวัวเป็นชีวิตจิตใจ และชื่นชอบในสูตรความเผ็ดของแกงป่า วันนี้...
อ่านต่อคลิกที่นี่
ยําวุ้นเส้น
ถ้าให้พูดถึงยำ หลายคนคงจะนึกถึงยําวุ้นเส้นเป็นอันดับแรก เพราะยําวุ้นเส้นเป็นเมนูที่เรารู้จ...
อ่านต่อคลิกที่นี่
สูตรแกงมัสมั่นเนื้อ
แกงมัสมั่นเนื้อ เป็นแกงที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศ  ด้วยความอ...
อ่านต่อคลิกที่นี่
แกงเขียวหวานไก่
แกงเขียวหวาน อาหารพื้นบ้านของไทยยอดนิยมอีก ทั้งเอามาทานกับข้าว หรือเอามาราดขนมจีน เป็นที่น...
อ่านต่อคลิกที่นี่
สูตรอาหารยำปลากระป๋อง
สูตรอาหารไทย สูตรยำปลากระป๋อง วันนี้เรามาดูเมนู สูตรอาหารไทย สูตรยำปลากระป๋อง ทำกินกันง่าย...
อ่านต่อคลิกที่นี่
สูตรไข่เจียวทอดกรอบ
สูตรไข่เจียวทอดกรอบ สูตรไข่เจียวกรอบ สูตรอาหารง่ายๆ พร้อมด้วยเคล็ดไม่ลับทำไงให้กรอบๆ ฟูๆ ว...
อ่านต่อคลิกที่นี่
สูตรยำผักบุ้งกรอบ
สูตรยำผักบุ้งกรอบ เป็นสูตรที่หลายๆคนถามถึงนะครับวันนี้เลยเอามานำเสนอกับ สูตรอาหาร สูตรยำผั...
อ่านต่อคลิกที่นี่
สูตรอาหารหมูผัดกะปิ ในหัวข้อวันนี้จะเป็น สูตรอาหาร สูตรหมูผัดกะปิ ซึ่งมีวิธีและขั้นตอนในกา...